การพัฒนาเครื่องสูบน้ำด้วยตะกร้าพลาสติกในบ่อบำบัดโรงพยาบาลนาโพธิ์

การพัฒนาเครื่องสูบน้ำด้วยตะกร้าพลาสติกในบ่อบำบัดโรงพยาบาลนาโพธิ์

ชื่อเรื่อง             การพัฒนาเครื่องสูบน้ำด้วยตะกร้าพลาสติกในบ่อบำบัดโรงพยาบาลนาโพธิ์

ชื่อผู้วิจัย           นายวิทยา แมนประโคน และนายอรัญณี ปุราชะทำมัง

หน่วยงาน          งานสุขาภิบาล โรงพยาบาลนาโพธิ์

ผู้นำเสนอผลงาน  นายวิทยา แมนประโคน

สถานที่ติดต่อกลับ งานสุขาภิบาล โรงพยาบาลนาโพธิ์ 103 หมู่ 8 ต.ศรีสว่าง อ.นาโพธิ์ จ.บุรีรัมย์ 31230 โทรศัพท์ 086-2503738 โทรสาร 044-629327 ต่อ 120 Email. [email protected]

 

บทคัดย่อ

โรง พยาบาลถือเป็นแหล่งกำเนิดมลพิษที่สำคัญ โดยเฉพาะน้ำเสียซึ่งถือเป็นมลพิษในอันดับต้นๆ ปัจจุบันระบบรับรองมาตรฐานโรงพยาบาลประเทศไทย มีการควบคุมการปล่อยน้ำเสียลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะหรือออกสู่สิ่งแวดล้อม ต้องผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ทางโรงพยาบาลได้มีการพัฒนาระบบมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ผ่านเกณฑ์ตามมาตรฐานนั้น โดยใช้ระบบบำบัดแบบประยุกต์ ประกอบด้วยถังเกรอะกรองไร้อากาศ บ่อพักน้ำผันสภาพ การดูแลระบบประจำวันของบ่อผันสภาพ พบปัญหาคือการสูบน้ำจากบ่อผันสภาพขึ้นบึงประดิษฐ์ด้วยเครื่องสูบน้ำแบบแช่ ขนาด 1 นิ้ว ทำงานเป็นช่วงเวลาตามการตั้งเวลาทำงาน ซึ่งพบว่า เครื่องสูบน้ำขัดข้อง 2 ครั้ง และต่อมาก็ชำรุด เนื่องจากมีหอย หรือวัชพืชเข้าไปอุดที่ช่องน้ำเข้าของเครื่องสูบน้ำ ทำให้มอเตอร์ไหม้ เสียหาย ต้องเสียค่าใช้จ่ายจากการเปลี่ยนเครื่องใหม่ คิดเป็นจำนวนเงิน 7,200 บาท วัตถุประสงค์ เพื่อลดเครื่องสูบน้ำชำรุดจากหอย หรือวัชพืชเข้าไปอุดตัน วิธีการศึกษา เป็นการวิจัยพัฒนาเชิงทดลอง Intervention ที่ใช้ในการวิจัย คือ กระบวนการป้องกันวัชพืชหรือหอย เข้าไปอุดตันที่ช่องน้ำเข้าของเครื่องสูบน้ำ เครื่องมือที่ใช้ คือ ตะกร้าพลาสติก เก็บรวบรวมข้อมูลโดยแบบบันทึกการดูแลระบบบ่อบำบัดน้ำเสีย  ระหว่างปีงบประมาณ 2554-2555 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน และร้อยละ

ผล การวิจัยพบว่า หลังการนำตะกร้ามาป้องกัน ไม่พบอุบัติการณ์เครื่องสูบน้ำขัดข้องจากการอุดตันของวัชพืชหรือหอย ที่ช่องน้ำเข้าของเครื่องสูบน้ำ การใช้ตะกร้าพลาสติกมาป้องกันสามารถ ลดอุบัติการณ์เครื่องสูบน้ำขัดข้องจากการอุดตันของวัชพืชหรือหอย ที่ช่องน้ำเข้าของเครื่องสูบน้ำได้ ซึ่งเครื่องสูบน้ำขัดข้องถือเป็นปัญหาที่ใหญ่มากเพราะจะทำให้ระบบรวนทั้งหมด และต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงในการเปลี่ยนเครื่องใหม่  แต่จากการแก้ปัญหาโดยการวิเคราะห์หาสาเหตุและแก้ที่ต้นเหตุของปัญหาโดยการ คิดนวัตกรรมในการป้องกันปัญหาซึ่งทำได้ง่ายๆและเสียค่าใช้จ่ายน้อย

คำสำคัญ: เครื่องสูบน้ำ, บ่อบำบัดน้ำเสีย

สรุปสาระสำคัญ

          งานสุขาภิบาลเป็นงานที่ต้องคอยดูแลสิ่งแวดล้อม หนึ่งในนั้นคือ การดูแลระบบบ่อบำบัดน้ำเสียของโรงพยาบาล  โรงพยาบาลถือเป็นแหล่งกำเนิดมลพิษที่สำคัญ โดยเฉพาะน้ำเสียซึ่งถือเป็นมลพิษในอันดับต้นๆ ปัจจุบันระบบรับรองมาตรฐานโรงพยาบาลประเทศไทย มีการควบคุมการปล่อยน้ำเสียลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะหรือออกสู่สิ่งแวดล้อม ต้องผ่านเกณฑ์มาตรฐานทั้ง  11 พารามิเตอร์ ในปี 2551 กรมควบคุมมลพิษ1 ได้ดำเนินการจัดทำมาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากระบบบำบัดน้ำเสียรวมของ ชุมชน ตามมาตรา 55 และ 69 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมไว้ ซึ่งในปัจจุบัน ทางโรงพยาบาลได้มีการพัฒนาระบบมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ผ่านเกณฑ์ตามมาตรฐานนั้น โดยใช้ระบบบำบัดแบบประยุกต์ ประกอบด้วยถังเกรอะกรองไร้อากาศ บ่อพักน้ำผันสภาพ และบึงประดิษฐ์ซึ่งบึงประดิษฐ์นี้หลักการทำงานจะคล้ายคลึงกับบ่อผึ่ง2 แต่ประสิทธิภาพดีกว่าเนื่องจากมีพืชช่วยบำบัด ส่วนการดูแลระบบประจำวันของบ่อผันสภาพ พบปัญหาคือการสูบน้ำจากบ่อผันสภาพขึ้นบึงประดิษฐ์ด้วยเครื่องสูบน้ำแบบแช่ ขนาด 1 นิ้ว ทำงานเป็นช่วงเวลาตามการตั้งเวลาทำงาน ซึ่งพบว่า เครื่องสูบน้ำขัดข้อง 2 ครั้ง และต่อมาก็ชำรุด เนื่องจากมีหอย หรือวัชพึชเข้าไปอุดที่ช่องน้ำเข้าของเครื่องสูบน้ำ ทำให้มอเตอร์ไหม้ เสียหาย ต้องเสียค่าใช้จ่ายจากการเปลี่ยนเครื่องใหม่ คิดเป็นจำนวนเงิน 7,200 บาท วัตถุประสงค์ เพื่อลดเครื่องสูบน้ำชำรุดจากหอย หรือวัชพืชเข้าไปอุดตัน วิธีการศึกษา เป็นการวิจัยพัฒนาเชิงทดลอง Intervention ที่ใช้ในการวิจัย คือ กระบวนการป้องกันวัชพืชหรือหอย เข้าไปอุดตันที่ช่องน้ำเข้าของเครื่องสูบน้ำ เครื่องมือที่ใช้ คือ ตะกร้าพลาสติก เก็บรวบรวมข้อมูลโดยแบบบันทึกการดูแลระบบบ่อบำบัดน้ำเสีย  ระหว่างปีงบประมาณ 2554-2555 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน และร้อยละ

ผลการวิจัย

พบว่า หลังการนำตะกร้ามาป้องกัน ไม่พบอุบัติการณ์เครื่องสูบน้ำขัดข้องจากการอุดตันของวัชพืชหรือหอย ที่ช่องน้ำเข้าของเครื่องสูบน้ำ

อภิปราย สรุป และข้อเสนอแนะ

ผล การวิจัย สรุปได้ว่า การใช้ตะกร้าพลาสติกมาป้องกันสามารถ ลดอุบัติการณ์เครื่องสูบน้ำขัดข้องจากการอุดตันของวัชพืชหรือหอย ที่ช่องน้ำเข้าของเครื่องสูบน้ำได้ ซึ่งเครื่องสูบน้ำขัดข้องถือเป็นปัญหาที่ใหญ่มากเพราะจะทำให้ระบบรวนทั้งหมด และต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงในการเปลี่ยนเครื่องใหม่  แต่จากการแก้ปัญหาโดยการวิเคราะห์หาสาเหตุและแก้ที่ต้นเหตุของปัญหาโดยการ คิดนวัตกรรมในการป้องกันปัญหาซึ่งทำได้ง่ายๆและเสียค่าใช้จ่ายน้อย แต่ป้องกันปัญหาได้ในระยะยาว

เอกสารอ้างอิง

  1. สำนักจัดการคุณภาพน้ำ กรมควบคุมมลพิษ. มาตรฐานระบบบำบัดน้ำเสีย. ค้นหาเมื่อ 29 ก.ค. 2556 จาก http://wqm.pcd.go.th/water/index.php/.
  2. สุเทียบ ศรีลาชัย พนมพร วงษ์ปาน และวิวรรธน์ คูนาเอก. การประยุกต์ใช้ระบบบำบัดน้ำเสียที่เหมาะสมสำหรับฟาร์มสุกรขนาดเล็ก.ค้นหาเมื่อ 29 ก.ค. 2556 จาก http://www.ertc.deqp. go.th/ertc/images/stories/user/toxic/toxic6/wastewater.pdf.

Leave a comment